เมนู

มหาวรรคที่ 7



1. อัสสุตวตาสูตรที่ 1



ว่าด้วยกายเป็นที่ประชุมมหาภูตทั้ง 4



[230] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้
สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายอันเป็น
ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความ
เจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของกายอันเป็น
ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับจึงเบื่อ
หน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายนั้น แต่ตถาคต
เรียกกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง
วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย . คลายกำหนัด หลุด
พ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้
อันปุถุชนมิได้สดับรวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านาน ฉะนั้น ปุถุชน
ผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้น
นั้นได้เลย.

[231] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปอีก
ถือเอากายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ โดยความเป็นตน ยัง
ชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ เมื่อ
ดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง
ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่า
ร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกกายอันเป็นที่ประชุมแห่ง
มหาภูตทั้ง 4 นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน.
[232] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับ
กิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่
ต่อไป แม้ฉันใด กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ ที่ตถาคต
เรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น
ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล.
[233] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมใส่ใจโดย
แยบคายด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมา
นั้นว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้
จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี
สฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย
จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข-
โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้ อนึ่ง เพราะอวิชชาดับสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[234] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่
อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ใน
สัญญา ย่อมหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อ
หน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ดังนี้แล.
จบอัสสุตวตาสูตรที่ 1

มหาวรรคที่ 7



อรรถกถาอัสสุตวตาสูตรที่ 1



พึงทราบวินิจฉัยในอัสสุตวตาสูตรที่ 1 แห่งมหาวรรคต่อไป.
บทว่า " อสุตวา ผู้มิได้สดับ" ได้แก่ ผู้เว้นจากการเรียน การ
สอบถามและการวินิจฉัยในขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจยาการ และสติปัฏฐาน
เป็นต้น . บทว่า " ปุถุชฺชโน ปุถุชน" ได้แก่ ชื่อว่าปุถุชน เพราะเหตุที่ยัง